ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
ประวัติความเป็นมาของขนมไทย....อาหารว่างโบราณ
"ข้าวนม" "เข้าหนม" "ข้าวหนม" ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า"ขนม"
สำหรับ"เข้าหนม"นั้น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณ
ได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
"หนม" เพี้ยนมาจาก"เข้าหนม" เนื่องจาก"หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ในพจนานุกรมไทยมีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม"
แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือ
เมื่ออยู่โดดๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด
ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิและคนไทยเองก็ได้ชื่อว่า
เป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย
ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง(หรุ่ม)
สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก
ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ
“ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”
จากกาพย์เห่เรือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
ทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวย
ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น