บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พริก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens
L. พริก ภาษาอังกฤษ : Chili, Chilli Pepper แต่ถ้าเป็นพริกขนาดใหญ่ๆที่มีรสอ่อนๆเราจะเรียกว่า
Bell Pepper,
Pepper, Paprika, Capsicum เป็นต้น
โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้
มีการนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว
ความเผ็ดของพริกมาจากสารชื่อ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งจะมีอยู่มากใยบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว
(คือส่วนเผ็ดมากที่สุด) ส่วนเปลือกและเมล็ดนั้นจะมีสารนี้น้อย
ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าส่วนเมล็ดและเปลือกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด และสารชนิดนี้จะทนทานต่อความร้อนและความเย็นอย่างมาก
แม้จะนำมาต้มให้สุดหรือแช่แข็งก็ไม่ได้ทำให้สูญเสียความเผ็ดไปแต่อย่างใด
โดยเราสามารถเรียงลำดับความเผ็ดของพริกจากมากไปหาน้อยได้ คือ พริกขี้หนู > พริกเหลือง > พริกชี้ฟ้า > พริกหยวก > พริกหวาน
เป็นต้น
หน่วยวัดความเผ็ดเดิมคือ สโควิลล์ (Seoville) (เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ
ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ สโควิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน) โดยพริกขี้หนูสวนบ้านเราจะมีค่าอยู่ที่
50,000-100,000
สโควิลล์
ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลกก็คือ พริกฮาบาเนโร
วัดค่าได้ถึง 350,000
สโควิลล์หรือมากกว่า
5ประโยชน์ของพริก
พริก...ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด
ช่วยให้ระบบการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือลดปริมาณสารที่ขัดขวางระบบการหายใจ
ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการไอ
สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาหลายๆ ชนิด
นอกจากนั้นสารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ
ในบริเวณเนื้อเยื่อบุผนังช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด
พริก...ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด หรือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน
การบริโภคพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการอุดตันของเส้นเลือด
นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
เนื่องจากพริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดความดัน
เพราะว่าในพริกมีสารจำพวกเบตาแคโรทีนและวิตามินซี
ซึ่งช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด
ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
พริก...ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันมิให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
(LDL-Low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี
(HDL-high density lipoprotein) มากขึ้น
ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค
พริก...ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากพริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง
การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยปกป้องการเกิดโรคมะเร็งได้
วิตามินซียับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน
รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด
คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดกแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายได้ นอกจากนี้
วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
คือสามารถยุติหรือขัดขวางบทบาทของอนุมูลอิสระ (free
radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
สารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอด และในช่องปาก
คนที่รับประทานผักที่มีสารเบตาแคโรทีนน้อย
จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่รับประทานผักที่มีเบตาแคโรทีนสูงถึง
7 เท่า คุณสมบัติของสารเบตาแคโรทีนจะช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง
สำหรับพริกบางชนิดที่มีสีม่วงจะมีสารพวกแอนโทไซยานิน
ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ
สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้เช่นกัน
6
พริก...ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง
เป็นต้น ในปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง
ใช้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคันและอาการผื่นแดงบริเวณผิวหนัง
รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น โรคเกาต์ หรือโรคข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
นอกจากนี้ผลการทดลองใหม่ๆยังบ่งชี้ว่าสารแคปไซซินช่วยลดอาการปวดศีรษะและไมเกรนลงได้
พริก...ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ดี เนื่องจากสารแคปไซซินมีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร
เอนดอร์ฟิน (endorphin มาจากคำว่า
endogenous morphine) ขึ้น สารเอนดอร์ฟินเป็นเปปไทด์ขนาดเล็ก
(โปรตีนสายสั้นๆ) มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด
ในขณะเดียวกันก็สร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น ยิ่งรับประทานเข้าไปมากเท่าใด
ร่างกายก็จะสร้างเอนดอร์ฟินขึ้นมามากขึ้นเท่านั้น ปกติร่างกายของคนเราจะสร้างสารเอนดอร์ฟินขึ้นภายหลังการออกกำลังกาย
ดังนั้นการออกกำลังกายแม้จะทำให้ร่างกายเมื่อยล้า
แต่ผู้ออกลังกายจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใส
Tips เกณฑ์วัดระดับความเผ็ดร้อนสากลของพริกหรือผักผลไม้ที่มีสารแคปไซซินซึ่งให้ความเผ็ดร้อนนี้เรียกว่า
สโกวิลล์ (Seoville) เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อของผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับนี้
ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ ลินคอร์น สโกวิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน
โดยเขาได้คิดค้นระดับวัดความเผ็ดนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1912
หอมแดง จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งประเทศไทยมีการปลูกมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ
และหอมแดงที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหอมแดงคุณภาพดีก็ได้แก่หอมแดงจากจังหวัดศรีษะเกษ
หัวหอมแดง มีสารเคมีและสารอาหารมากมาย
เช่น ไดอัลลิน ไตรซัลไฟต์ (เช่นเดียวกับที่ได้ใน กระเทียม) และยังมีฟลาโวนอยด์
ไกลโคไซด์ เพคติน ลูโคคินิน
ซึ่งสารต่างๆเหล่านี้มีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ลดไขมันในเส้นเลือด
และในหัวหอมยังมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารกำมะถันและแร่ธาตุอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัสอีกด้วย
งานวิจัยหอมแดง พบว่าหอมแดงมีบทบาทเกี่ยวกับการช่วยเผาผลาญอาหารในร่างกาย
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และการรับประทานหอมแดงเป็นประจำจะช่วยลด
ความเสี่ยงอันตรายของการเกิดโรคหัวใจชนิดเส้นเลือดมาเลี้ยงหัวใจอุดตันได้!
กระเทียม ชื่อสามักระเทียม ชื่อสามัญ Garlic กระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ คือคำว่า Allium sativum Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae และอยู่ในวงศ์ย่อย Allioideae เช่นเดียวกันกับกุยช่าย พลับพลึงขาว พลับพลึงแดง พลับพลึงตีนเป็ด ว่านสี่ทิศ หอมแดง และหอมใหญ่
สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่สำหรับกระเทียมที่ขึ้นชื่อที่มีคุณภาพดี กลิ่นฉุนคงหนีไม่พ้นจังหวัดศรีษะเกษ
8
สรรพคุณ
การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกระเทียม
การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกระเทียม
กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด
- กินกระเทียมเป็นประจำ จะทำให้ผิวหนังสะอาด เพราะกระเทียมจะไปทำความสะอาดเลือด ช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น รักษาผิวหนังที่เป็นตุ่มแผล ผิวหนังด่างดำ สิวและฝี
- กระเทียมช่วยลดความดันโลหิตสูง เพราะกระเทียมจะไปขยายเส้นเลือดให้กว้างขึ้น
- ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว เพราะกระเทียมจะไปยับยั้งการสร้างสารกรอมโปเซนบี 2 ซึ่งสารนี้เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน และเป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง
ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
สำหรับแหล่งเพาะปลูกสำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม
และกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป
ทวีปอเมริกาใต้ในประเทศอินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี
แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมาก
ผักชีไทย เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ
เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นแถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย
และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์
ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารใช้น่ารับประทานอีกด้วย
สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักชี
- ต้น ช่วยเป็นยาละลายเสมหะ
แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการนำเอาต้นที่แห้งประมาณ
10-15 กรัม
หรือเอาต้นสด ๆ 60-150 กรัมนำไปต้มกับน้ำ
หรือคั้นเอาเฉพาะน้ำและดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง
- ผล ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร
- ผล ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร
พริกไทย
ลักษณะพริกไทย ต้นพริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน
จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อๆ
ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ
ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง
ซึ่งจะมีเมล็ดกลมๆติดกันอยู่เป็นพวง
สายพันธุ์พริกไทย พริกไทยที่นิยมปลูกในบ้านเรามีอยู่ 6 สายพันธุ์
ได้แก่ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่หยิก
พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง
สมุนไพรพริกไทย เป็นพืชที่มีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก
จัดเป็นสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณทางยา และป็นราชาแห่งเครื่องเทศที่มีรสชาติเผ็ดร้อน
สามารถนำมาทำเป็นพริกไทยแห้งไว้ใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหาร
ถ้าเป็นแบบแห้งทั้งเปลือกจะเป็น พริกไทยดำหรือ Black
Pepper (เพราะมีผงของเปลือกสีดำปนอยู่)
แต่ถ้าลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผงก็จะได้เป็น พริกไทยขาว หรือ White Pepper (พริกไทยล่อน) เนื่องจากพริกไทยมีปริมาณน้ำในแต่ละเม็ดน้อยมาก
จึงไม่ค่อยขึ้นรา ซึ่งวิธีการเก็บรักษาก็ง่ายๆเพียงแค่เก็บไว้ในโหลแก้วให้มิดชิด
ส่วนพริกไทยป่นก็ควรบดเก็บแต่น้อย ในภาชนะที่แห้งสนิทและปิดให้มิดชิดเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น