วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ประวัติความเป็นมาของขนมไทย....อาหารว่างโบราณ
"ข้าวนม" "เข้าหนม" "ข้าวหนม" ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า"ขนม" สำหรับ"เข้าหนม"นั้น               พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณ
ได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
"หนม" เพี้ยนมาจาก"เข้าหนม" เนื่องจาก"หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ในพจนานุกรมไทยมีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม"
แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือ
เมื่ออยู่โดดๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน

ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด
ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิและคนไทยเองก็ได้ชื่อว่า
เป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆภาคของประเทศไทยในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี
-ขนมฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน
-ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
-ขนมถ้วยฟู ก็ขอให้เฟื่องฟู
                                                                                                                                                                                                2
-ขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

หรุ่ม หรือ ล่าเตียง
มีส่วนประกอบที่เป็นไข่โรยให้เป็นตาราง ห่อใส้ม้วน
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย
ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง(หรุ่ม)
สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล

ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ  ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก
ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ

ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน 
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน
    จากกาพย์เห่เรือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
ทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวย
ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
การทำล่าเตียง ยังเป็นการฝึกสมาธิ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แถมยังสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมอีกด้วย


                                                                                                                                                3
จุดมุ่งหมายของโครงงาน
เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
เพื่อฝึกการทำล่าเตียง
เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำล่าเตียง
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถทำล่าเตียง จากสมุนไพรไทย
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับล่าเตียง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น