วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่ 4
ผลการเรียนรู้
จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำล่าเตียง ผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการทำล่าเตียงที่ถูกวิธี
และได้ล่าเตียงที่อร่อยด้วยวิธีข้างล่างนี้
วัสดุอุปกรณ์
กระทะ เตา จาน
ชาม
ครก ถ้วยตวง ช้อนตวง
ถาด มีด
เขียง
ส่วนผสม
- หมู/สับละเอียด
|
250 กรัม
|
- หอมแดง/หั่นชิ้นเล็ก
|
½ ถ้วย
|
- พริกชี้ฟ้าแดง/หั่นฝอย
|
3 เม็ด
|
- ผักชี/เด็ดใบ
|
¼ ถ้วย
|
- รากผักชี
|
1 ราก
|
- กระเทียม
|
4 กลีบ
|
- พริกไทยขาว
|
15 เม็ด
|
- น้ำตาลทราย
|
3 ช้อนโต๊ะ
|
- น้ำปลา
|
2 ช้อนโต๊ะ
|
- ไข่ไก่/ตีให้เข้ากัน
|
5 ฟอง
|
วิธีทำล่าเตียง
1.โขลกรากผักชี กระเทียม
และพริกไทย ให้ละเอียด
3. ไข่ไก่ตีพอแตก ตั้งกระทะพอร้อน ใช้กระดาษซับน้ำมันเช็ดกระทะ ล้างมือให้สะอาด จุ่มมือลงในไข่และสะบัดในกระทะให้เป็นตารางพลิกกลับให้สุกทั้งสองด้าน แล้วนำขึ้นจากกระทะ
4. วางด้านเรียบขึ้นด้านบน วางพริกชี้ฟ้าแดง และผักชี และไส้ที่ผัดไว้ ห่อให้เป็นสี่เหลี่ยม
บทที่
5
สรุปผลและอภิปรายผลงาน
สรุป
การทำโครงงาน ล่าเตียงครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นอาหารว่างชาววังเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
อภิปราย
สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ในการทำโครงงาน เรื่องล่าเตียง
ในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์
ดังนี้
รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน
เพื่อการศึกษาต่อไป
นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำอาหาร
ข้อเสนอแนะ
เคล็ดลับความอร่อย
ล่าเตียงจะอร่อยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ “การผัดไส้” ที่จะต้องมีรสชาติหวานนำตามด้วยเค็มนิด และแพไข่ที่ใช้ห่อต้องไม่ทอดจนกรอบเกินไปและไม่นิ่มจนเละต้องมีสีสันสวยเพื่อรสชาติที่กลมกล่อม
สีน่ารับประทานและเมื่อกินรวมกันแล้วจะได้รสชาติที่หวานปนเค็มสุดยอด นอกจากล่าเตียงหมูสับแล้วสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นแทนได้
เช่น กุ้ง มันเทศ ฯลฯ
ขณะที่ทำแพไข่เราต้องใช้ไฟอ่อนๆ
รักษาการสะบัดไข่ที่ทำเป็นแพให้ดีเพื่อที่แพไข่ของเราจะได้ไม่กรอบเกินไป
เมื่อทำการห่อล่าเตียงควรกะปริมาณไส้กับแพไข่ให้ดี
เพราะไม่ฉะนั้นเราจะห่อไม่ได้และเราควรห่อให้พอดีคำไม่เล็กเกินและไม่ให้ใหญ่เกิน
การใส่พริกและผักชีในห่อล่าเตียงนั้นเคล็ดลับคือ
ถ้าพริกเผ็ดมากเราก็ใส่น้อยแต่ให้มีสีสันของพริก
ใส่ผักชีก็ไม่ควรใส่เยอะถ้าใส่เยอะเกินจะทำให้ฉุน
บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พริก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens
L. พริก ภาษาอังกฤษ : Chili, Chilli Pepper แต่ถ้าเป็นพริกขนาดใหญ่ๆที่มีรสอ่อนๆเราจะเรียกว่า
Bell Pepper,
Pepper, Paprika, Capsicum เป็นต้น
โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้
มีการนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว
ความเผ็ดของพริกมาจากสารชื่อ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งจะมีอยู่มากใยบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว
(คือส่วนเผ็ดมากที่สุด) ส่วนเปลือกและเมล็ดนั้นจะมีสารนี้น้อย
ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าส่วนเมล็ดและเปลือกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด และสารชนิดนี้จะทนทานต่อความร้อนและความเย็นอย่างมาก
แม้จะนำมาต้มให้สุดหรือแช่แข็งก็ไม่ได้ทำให้สูญเสียความเผ็ดไปแต่อย่างใด
โดยเราสามารถเรียงลำดับความเผ็ดของพริกจากมากไปหาน้อยได้ คือ พริกขี้หนู > พริกเหลือง > พริกชี้ฟ้า > พริกหยวก > พริกหวาน
เป็นต้น
หน่วยวัดความเผ็ดเดิมคือ สโควิลล์ (Seoville) (เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ
ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ สโควิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน) โดยพริกขี้หนูสวนบ้านเราจะมีค่าอยู่ที่
50,000-100,000
สโควิลล์
ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลกก็คือ พริกฮาบาเนโร
วัดค่าได้ถึง 350,000
สโควิลล์หรือมากกว่า
5ประโยชน์ของพริก
พริก...ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด
ช่วยให้ระบบการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือลดปริมาณสารที่ขัดขวางระบบการหายใจ
ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการไอ
สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาหลายๆ ชนิด
นอกจากนั้นสารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ
ในบริเวณเนื้อเยื่อบุผนังช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด
พริก...ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด หรือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน
การบริโภคพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการอุดตันของเส้นเลือด
นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
เนื่องจากพริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดความดัน
เพราะว่าในพริกมีสารจำพวกเบตาแคโรทีนและวิตามินซี
ซึ่งช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด
ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
พริก...ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันมิให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
(LDL-Low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี
(HDL-high density lipoprotein) มากขึ้น
ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค
พริก...ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากพริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง
การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยปกป้องการเกิดโรคมะเร็งได้
วิตามินซียับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน
รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด
คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดกแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายได้ นอกจากนี้
วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
คือสามารถยุติหรือขัดขวางบทบาทของอนุมูลอิสระ (free
radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
สารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอด และในช่องปาก
คนที่รับประทานผักที่มีสารเบตาแคโรทีนน้อย
จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่รับประทานผักที่มีเบตาแคโรทีนสูงถึง
7 เท่า คุณสมบัติของสารเบตาแคโรทีนจะช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง
สำหรับพริกบางชนิดที่มีสีม่วงจะมีสารพวกแอนโทไซยานิน
ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ
สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้เช่นกัน
6
พริก...ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง
เป็นต้น ในปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง
ใช้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคันและอาการผื่นแดงบริเวณผิวหนัง
รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น โรคเกาต์ หรือโรคข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
นอกจากนี้ผลการทดลองใหม่ๆยังบ่งชี้ว่าสารแคปไซซินช่วยลดอาการปวดศีรษะและไมเกรนลงได้
พริก...ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ดี เนื่องจากสารแคปไซซินมีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร
เอนดอร์ฟิน (endorphin มาจากคำว่า
endogenous morphine) ขึ้น สารเอนดอร์ฟินเป็นเปปไทด์ขนาดเล็ก
(โปรตีนสายสั้นๆ) มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด
ในขณะเดียวกันก็สร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น ยิ่งรับประทานเข้าไปมากเท่าใด
ร่างกายก็จะสร้างเอนดอร์ฟินขึ้นมามากขึ้นเท่านั้น ปกติร่างกายของคนเราจะสร้างสารเอนดอร์ฟินขึ้นภายหลังการออกกำลังกาย
ดังนั้นการออกกำลังกายแม้จะทำให้ร่างกายเมื่อยล้า
แต่ผู้ออกลังกายจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใส
Tips เกณฑ์วัดระดับความเผ็ดร้อนสากลของพริกหรือผักผลไม้ที่มีสารแคปไซซินซึ่งให้ความเผ็ดร้อนนี้เรียกว่า
สโกวิลล์ (Seoville) เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อของผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับนี้
ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ ลินคอร์น สโกวิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน
โดยเขาได้คิดค้นระดับวัดความเผ็ดนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1912
หอมแดง จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งประเทศไทยมีการปลูกมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ
และหอมแดงที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหอมแดงคุณภาพดีก็ได้แก่หอมแดงจากจังหวัดศรีษะเกษ
หัวหอมแดง มีสารเคมีและสารอาหารมากมาย
เช่น ไดอัลลิน ไตรซัลไฟต์ (เช่นเดียวกับที่ได้ใน กระเทียม) และยังมีฟลาโวนอยด์
ไกลโคไซด์ เพคติน ลูโคคินิน
ซึ่งสารต่างๆเหล่านี้มีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ลดไขมันในเส้นเลือด
และในหัวหอมยังมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารกำมะถันและแร่ธาตุอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัสอีกด้วย
งานวิจัยหอมแดง พบว่าหอมแดงมีบทบาทเกี่ยวกับการช่วยเผาผลาญอาหารในร่างกาย
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และการรับประทานหอมแดงเป็นประจำจะช่วยลด
ความเสี่ยงอันตรายของการเกิดโรคหัวใจชนิดเส้นเลือดมาเลี้ยงหัวใจอุดตันได้!
กระเทียม ชื่อสามักระเทียม ชื่อสามัญ Garlic กระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ คือคำว่า Allium sativum Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae และอยู่ในวงศ์ย่อย Allioideae เช่นเดียวกันกับกุยช่าย พลับพลึงขาว พลับพลึงแดง พลับพลึงตีนเป็ด ว่านสี่ทิศ หอมแดง และหอมใหญ่
สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่สำหรับกระเทียมที่ขึ้นชื่อที่มีคุณภาพดี กลิ่นฉุนคงหนีไม่พ้นจังหวัดศรีษะเกษ
8
สรรพคุณ
การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกระเทียม
การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกระเทียม
กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด
- กินกระเทียมเป็นประจำ จะทำให้ผิวหนังสะอาด เพราะกระเทียมจะไปทำความสะอาดเลือด ช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น รักษาผิวหนังที่เป็นตุ่มแผล ผิวหนังด่างดำ สิวและฝี
- กระเทียมช่วยลดความดันโลหิตสูง เพราะกระเทียมจะไปขยายเส้นเลือดให้กว้างขึ้น
- ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว เพราะกระเทียมจะไปยับยั้งการสร้างสารกรอมโปเซนบี 2 ซึ่งสารนี้เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน และเป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง
ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
สำหรับแหล่งเพาะปลูกสำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม
และกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป
ทวีปอเมริกาใต้ในประเทศอินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี
แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมาก
ผักชีไทย เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ
เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นแถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย
และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์
ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารใช้น่ารับประทานอีกด้วย
สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักชี
- ต้น ช่วยเป็นยาละลายเสมหะ
แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการนำเอาต้นที่แห้งประมาณ
10-15 กรัม
หรือเอาต้นสด ๆ 60-150 กรัมนำไปต้มกับน้ำ
หรือคั้นเอาเฉพาะน้ำและดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง
- ผล ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร
- ผล ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร
พริกไทย
ลักษณะพริกไทย ต้นพริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน
จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อๆ
ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ
ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง
ซึ่งจะมีเมล็ดกลมๆติดกันอยู่เป็นพวง
สายพันธุ์พริกไทย พริกไทยที่นิยมปลูกในบ้านเรามีอยู่ 6 สายพันธุ์
ได้แก่ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่หยิก
พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง
สมุนไพรพริกไทย เป็นพืชที่มีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก
จัดเป็นสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณทางยา และป็นราชาแห่งเครื่องเทศที่มีรสชาติเผ็ดร้อน
สามารถนำมาทำเป็นพริกไทยแห้งไว้ใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหาร
ถ้าเป็นแบบแห้งทั้งเปลือกจะเป็น พริกไทยดำหรือ Black
Pepper (เพราะมีผงของเปลือกสีดำปนอยู่)
แต่ถ้าลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผงก็จะได้เป็น พริกไทยขาว หรือ White Pepper (พริกไทยล่อน) เนื่องจากพริกไทยมีปริมาณน้ำในแต่ละเม็ดน้อยมาก
จึงไม่ค่อยขึ้นรา ซึ่งวิธีการเก็บรักษาก็ง่ายๆเพียงแค่เก็บไว้ในโหลแก้วให้มิดชิด
ส่วนพริกไทยป่นก็ควรบดเก็บแต่น้อย ในภาชนะที่แห้งสนิทและปิดให้มิดชิดเช่นกัน
บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ประวัติความเป็นมาของขนมไทย....อาหารว่างโบราณ
"ข้าวนม" "เข้าหนม" "ข้าวหนม" ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า"ขนม" สำหรับ"เข้าหนม"นั้น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณ
ได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
"หนม" เพี้ยนมาจาก"เข้าหนม" เนื่องจาก"หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ในพจนานุกรมไทยมีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม"
แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือ
เมื่ออยู่โดดๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด
ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิและคนไทยเองก็ได้ชื่อว่า
เป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆภาคของประเทศไทยในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี
-ขนมฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน
-ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
-ขนมถ้วยฟู ก็ขอให้เฟื่องฟู
"ข้าวนม" "เข้าหนม" "ข้าวหนม" ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า"ขนม" สำหรับ"เข้าหนม"นั้น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณ
ได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
"หนม" เพี้ยนมาจาก"เข้าหนม" เนื่องจาก"หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ในพจนานุกรมไทยมีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม"
แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือ
เมื่ออยู่โดดๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด
ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิและคนไทยเองก็ได้ชื่อว่า
เป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆภาคของประเทศไทยในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี
-ขนมฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน
-ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
-ขนมถ้วยฟู ก็ขอให้เฟื่องฟู
2
-ขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
หรุ่ม
หรือ ล่าเตียง
มีส่วนประกอบที่เป็นไข่โรยให้เป็นตาราง ห่อใส้ม้วน
สมัยรัตนโกสินทร์
จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย
ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง(หรุ่ม)
สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก
ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ
มีส่วนประกอบที่เป็นไข่โรยให้เป็นตาราง ห่อใส้ม้วน
![](file:///C:/Users/Com/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image001.gif)
กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย
ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง(หรุ่ม)
สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก
ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ
“ล่าเตียงคิดเตียงน้อง
นอนเตียงทองทำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”
จากกาพย์เห่เรือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(รัชกาลที่ 2)
ทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวย
ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวย
ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
การทำล่าเตียง ยังเป็นการฝึกสมาธิ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
แถมยังสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมอีกด้วย
3
จุดมุ่งหมายของโครงงาน
เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
เพื่อฝึกการทำล่าเตียง
เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำล่าเตียง
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต
และสามารถทำล่าเตียง จากสมุนไพรไทย
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับล่าเตียง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)